วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

   แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
การพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Develoment)
            การพัฒนาในประเทศที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเชื่อว่าหากเศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้นระดับรายได้ของประชากรของประเทศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย  ซึ่งจะส่งผลให้มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนสูงขึ้นแต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเชิงปริมาณดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรมนำไปสู่ข้อสรุปผลของการพัฒนาที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาคุณภาพและไม่ยั้งยืน” ความเจริญทางเศรษฐกิจไม่อาจดำรงอยู่อย่างยั้งยืนได้ หากไม่คำนึงถึงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต้องมีการใช้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์พร้อมทั้งจัดการ และคุ้มครองระบบนิเวศให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั้งยืน ในศตวรรษที่ 2550 ประเทศไทยจึงได้ให้มีการใส่ใจอย่างจริงจังกับ การพัฒนาอย่างยั้งยืน”
   1.  ความหมายของการพัฒนาที่ยั้งยืน
              (การพัฒนาที่ยั้งยืนในบริบทไทย เอกสารประกอบการประชุม ประจำปี 2546 การพัฒนาที่ยั้งยืน 30 มิถุนายน 2546) การพัฒนาที่ยั้งยืน” ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมาย ใกล้เคียงกัน แต่มีการกล่าวมากที่สุดคือ คำนิยามของสมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและพัฒนา (World Commission on Environment and Develoment) ซึ่งนิยามไว้ว่า การพัฒนาที่ยั้งยืน คือ รูปแบบของการพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อๆ ไปต้องลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง (Sustainable Development that meets the needs of  the present without compromising the ability of future generations to meet their own needs) หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ การทำให้กิจกรรมของมนุษย์ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามแนวคิดดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่ครอบคลุมการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีคนเป็นศูนย์กลางหรือเป้าหมายของการพัฒนา เพื่อให้อยู่ดีกินดีทั้งคนในรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไป
     
 แนวทางการพัฒนาที่ยั้งยืนมาจาก 3 แนวทางใหญ่ๆ คือ
 แนวทางด้านนิเวศวิทยา
-  แนวทางด้านสังคม
- แนวทางด้านเศรษฐกิจ
    ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาประเทศและเริ่มกำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศที่มุ่งรักษาความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2540 – 2549และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 -2554) (Green and Happiness Society)
              2.  แนวทางการปรับตัวของประเทศไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    การพัฒนาที่ยั่งยืนมีแนวคิดในการดำเนินงานดังนี้
              2.1 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  โดยต้องสร้างความเข้าใจว่าทรัพยากรธรรมชาติ เป็นทุนการผลิตประเภทหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของประเทศและมีความสำคัญในการดำรงชีวิต
               2.2  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการขยายตัวในเชิงปริมาณ โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ดังนี้ คือ
               1. การบริหารเศรษฐกิจโดยรวม
               2. การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถของการแข่งขันของประเทศ
              3. การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
             - สนับสนุนการวิจัย
             - พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความสามารถมากขึ้น
             - พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
             2.3 การเสริมสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้บุคลากรของชาติมีคุณภาพ มีความรู้ และพร้อมที่จะรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย
             - เชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน
            - มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
             3. ดรรชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย
    การวัดผลสำเร็จของการพัฒนาประเทศ ส่วนใหญ่พิจราณาจากผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายประเทศ (Gross Domestic Product-GDP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ( Gross National Product-GNP) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
            ประเทศไทยใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เป็นดรรชนีชี้วัดระดับการพัฒนาประเทศเช่นเดียวกับประเทศอื่น สังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 8 ฉบับที่ 9 และฉบับที่ 10 กำหนดให้ คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดรรชนีชี้วัดขึ้นใหม่ 2 ชุด คือ ดรรชนีความอยู่ดีมีสุข และ ดรรชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้วัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนาที่มีต่อคน
            ดรรชนีความอยู่ดีมีสุข
            เป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 คือ การสร้าง สังคมอยู่ดีมีสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) ซึ่ง ความอยู่ดีมีสุข หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ สามารถจำแนกเป็น 7 ด้าน คือ                                                                                                                     
            1. สุขภาพอนามัย
            2. ความรู้        
            3. ชีวิตการทำงาน
            4. รายได้และการกระจายรายได้
            5. ชีวิตครอบครัว
            6. สภาพแวดล้อม
            7. การบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ

-                    
                                        
                                                                       ดรรชนีรวมความอยู่ดีมีสุขและองค์ประกอบ

ดรรชนี
องค์ประกอบ
ตัวชี้วัด
1.  สุขภาพอนามัย
1.  การมีชีวิตยืนยาว
2.  การมีสุขภาพอนามัยที่ดี
3.  การสร้างความเป็นธรรมในระบบสาธารณะสุข

1.  อายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
2.  สัดส่วนประชากรที่ไม่เจ็บป่วยในแต่ละปี
3.  สัดส่วนประชากรที่มีหลักประกันสุขภาพ
2.  ความรู้
4.  การได้รับการศึกษาของคนไทยอย่างทั่วถึง
5.  คุณภาพการศึกษา

4.  จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาของประชาชน
5.  อัตราการเข้าเรียนหนังสือของเด็กชั้นม.ต้นและม.ปลาย
6.  ผลคะแนนการทดสอบวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

3.  ชีวิตการทำงาน
6.  การมีงานทำอย่างทั่วถึง
7.  ความมั่นคงในการทำงาน
7.  สัดส่วนผู้ว่างงาน
8.  สัดส่วนแรงงานที่มีการบริการและอยู่ในข่ายควบคลุมของเครือข่ายประกันสังคม
4.  รายได้และกระจายรายได้
8.  รายได้
9.  การกระจายรายได้
9.  สัดส่วนคนยากจนด้านรายได้
10.  สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้
      
-  เศรษฐกิจชุมชนกับการพัฒนายั่งยืน
            เศรษฐกิจชุมชน คือ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการทั้งในด้านการผลิต การบริโภค และการกระจายผลผลิต โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน คือ ให้มีส่วนร่วมคิด ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ บนรากฐานของความสามารถที่มีอยู่ จากการใช้ ทุนของชุมชน”
            สมาชิกในชุมชนจะเป็นผู้ตัดสินว่า พวกเราจะผลิตอะไรได้บ้างตามศักยภาพและทุนประเภทต่างๆ ที่มีอยู่เราจะผลิตกันอย่างไร โดยที่ชุมชนสามารถคิดเอง ทำเอง ได้เอง
            การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนควรมีเป้าหมายสำคัญที่
            1. การพัฒนาขีดความสามารถของคน ครอบครัว และชุมชน
            2. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
            การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมีจุดแข็งที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ก็คือ
            1. คนในท้องถิ่นในชุมชนเดียวกันมีจิตสำนึกร่วมกัน
            2. การมีความเอื้ออารี
            3. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
            4. เป็นการพัฒนาที่เริ่มจากการกำหนดพื้นที่
- แนวปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน     
            แนวทางในการพัฒนาชุมชนสามารถปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้ ดังนี้
        1. สร้างเวทีการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นก่อน
            2. วิเคราะห์ศักยภาพในขีดความสามารถของท้องถิ่น
            3. วางแผนพัฒนาตามแนวทาง
            4. ส่งเสริมการรวมกลุ่มในลักษณะต่างๆ
            5.พัฒนาเทคโนโลยีในความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิต
            6. พัฒนาระบบตลาด
            7.พัฒนากิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษา
            8. ทำการวิจัย
            9. สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน
        10. สร้างหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
            11. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร
            12. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนออกสู่สังคมภายนอก
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยแนวพระราชดำริ ระเบิดจากข้างใน”
            ระเบิดจากข้างใน
            เป็นหลักในการพัฒนาคน ที่ต้องเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก
            หลักการพัฒนาที่แท้จริงการพัฒนาที่แท้ต้องเริ่มจากระดับฐาน ระดับย่อยที่สุด หรือ ข้างใน”

ตัวอย่างของการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
 
           

- ชุมชนบ้านบ่อลูกลัง
            บริบทสังคมของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            ประวัติการก่อตั้งชุมชน
            ชุมชนบ้านบ่อลูกรัง ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว เริ่มเกิดขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 2512 โดยเริ่มจากคนในจังหวัดอื่นย้ายถิ่นฐานเข้ามา ด้วยความต้องการหาแหล่งที่ดินทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์
            ลักษณะทางกายภาพ
            ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของชุมชนบ้านบ่อลูกรังมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับกับที่ราบ ในปี พ.ศ.2549 มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 200 หลังคาเรือน แต่อยู่จริงในหมู่บ้าน 149 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งหมด 768 คน อยู่จริง 293 คน
            สภาพปัญหาของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            - ปัญหาด้านที่ดินทำกิน
            - ปัญหานายทุนปล่อยกู้ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมา
            - ปัญหาจากภัยธรรมชาติ
           
            ปํญหาที่ดินทำกิน
            ทั้ง อ.วังน้ำเย็น ถูกกรมป่าไม้คุมปลูกป่าหมดและไม่ได้มาแจ้งให้ชาวบ้านทราบก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบประชากรในหมู่บ้านมีจำนวนไม่มาก ชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน และได้ย้ายเข้าไปอยู่ในป่าลึกกว่าเดิม
            ปัญหานายทุนปล่อยเงินกู้ และปัญหาหนี้สิน
            เกิดจากการที่เถ้าแก่เป็นนายทุนปล่อยเงินกู้ ชาวบ้านไปกู้เงินกับเถ้าแก่เพื่อมาทำไร่ข้าวโพด แล้วนำข้าวโพดที่ปลูกมาตกดอกกับเถ้าแก่ ร้อยละ 5-6 ปี ถัง/ปี
            ปัญหาจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช
            ตั๊กแตนปาทังก้า คือศัตรูพืชที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด มะพร้าว อ้อย ถั่วลิสง ถั่วเขียว และข้าวฟ่างเสียหาย
            กล่าวโดยสรุปได้ว่า ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการกำหนดพื้นที่ของรัฐ โดยไม่สอดคล้องกับคนในชุมชน ซึ่งต้องใช้พื้นที่เพื่อการดำรงชีวิตและทำกิน
        แนวคิดของชุมชนบ้านบ่อลูกรังในการจัดทำศูนย์ข้อมูลชุมชน  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
            1. แนวทางในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ
            2. ชุมชนบ้านบ่อลูกรังมีโอกาสได้ไปศึกษา
            3. มีพันธมิตรทางการสร้างความร่วมมือและสนับสนุนชุมชน
            4. ชุมชนมีทีมงานและคณะทำงานชุมชนที่เข้มแข็ง
        เหตุผลในการจัดทำศูนย์ข้อมูลชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
        1. เพื่อเป็นการสืบค้นเรื่องราวต่างๆ
            2. เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน
            3. สะดวกต่อการค้นหาและจัดเก็บข้อมูล
            4. เป็นเครื่องมือและนวัตกรรมการพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้
            5. มีฐานข้อมูลชุมชนสำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชุมชน
            6. นำฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงการแก้ปัญหาความยากจน
            7. นำไปสู่การสร้างสื่อสาธารณะในชุมชน
            8. เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
            9. มีผู้สืบทอดการเรียนรู้ในชุมชน
        10ยกระดับการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้
            11. สื่อความหมายได้ชัดเจนและรวดเร็ว
            12.ชุมชนควรมีข้อมูลของตนเอง
            13.มีข้อมูล มีแนวทางและสิ่งที่คาดหวังของชุมชน คือ ชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืน
            กระบวนการเริ่มต้นหรือการก่อรูปขององค์กรชุมชนเพื่อจัดทำข้อมูลชุมชนของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            ผู้นำชุมชนถือได้ว่าป็นส่วนสำคัญต่อการชักชวนสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านเกี่ยวกับการทำข้อมูลชุมชนในส่วนบ้านบ่อลูกรัง ผู้ใหญ่บ้านละอองดาว
        กระบวนการลงพื้นที่เพื่อจัดทำข้อมูลระดับชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง ได้มีการดำเนินงานหลังจากที่ผู้นำชุมชนได้ประสานความเข้าใจและทำประชาคมร่วมกับชาวบ้าน
            การจัดเก็บข้อมูลของกลุ่มองค์กรในชุมชน เช่น ประเภทของกลุ่ม กิจกรรม สถานะทางการเงิน และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
            ความสำเร็จจากการจัดทำข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            1. สามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
            2. เรื่องทุนทางสังคม
            3. การจัดทำฐานข้อมูลทำให้ชุมชนได้รับรู้ความเคลื่อนไหวต่างๆ
            4. การได้มีโอกาสใช้นวัตกรรมใหม่ๆ
            5. ปัจจุบันมีสื่อหรือภาพประกอบต่างๆ
        การนำข้อมูลไปพัฒนาหมู่บ้าน
            1. ชุมชนบ้านบ่อลูกรังมีกองทุนในหมู่บ้าน
            2. ข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
            3. ข้อมูลด้านวิถีชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น