วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การทำนาแบบไม่ไถ...ทำยังไง ??

การทำนาแบบไม่ไถสูตรอินผ่อง แก้วดำ

                  ในปัจจุบันนี้การทำนาของพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่จะเน้นที่การได้ผลผลิตสูงเป็นสำคัญ ดังนั้นก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิต โดยไม่ได้คำนึงถึงต้นทุน จนบางครั้งเมื่อมีการคำนวณดูแล้วไม่มีกำไรเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับพ่ออินผ่อง แก้วดำ เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่เน้นการลงทุนน้อยๆ เพื่อให้ได้กำไรมาก  ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และที่น่าสนใจเป็นอย่างมากก็คือการทำนาแบบไม่ไถ ซึ่งโดยทั่วไปการทำนาในแต่ละครั้งเกษตรต้องเตรียมแปลงปลูกด้วยการไถดะคือการไถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปรคือการไถตัดกับรอยไถดะ เสร็จแล้วทำการคราด จากนั้นนำต้นกล้าลงปลูกหรือปักดำ ซึ่งจะต่างกับวิธีทำนาของพ่ออินผ่องที่มีการทดลองทำมาแล้ว 3-4 ปี ซึ่งก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำนาในพื้นที่ 6ไร่ นับว่าได้ผลผลิตไม่แพ้การทำนาแบบไถเลยทีเดียว ผลผลิตโดยเฉลี่ย 460-470 ถังต่อปี ได้ผลผลิตดีอีกทั้งยังประหยัดต้นทุนในการไถและการใส่ปุ๋ยอีกด้วย เกษตรกรที่อยากจะทดลองการทำนาแบบไม่ไถจะต้องมีสภาพพื้นที่เหมาะสมโดยพื้นที่นั้นๆจะต้องมีระดับความสูงไล่ลงมาเป็นลำดับดังนี้
1. บ่อน้ำขนาดใหญ่กับเก็บน้ำได้ในฤดูทำนา
2. พื้นที่นา
3. คลองระบายน้ำออกจากที่นา




วิธีการเตรียมพื้นที่และการปลูกมีดังนี้
- ปล่อยน้ำบ่อลงสู่พื้นที่นา โดยการต่อท่อจากบ่อเข้าไปในที่นา
- นำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย 40 ลิตรต่อที่นา 6 ไร่ใส่ลงในถังเจาะให้เป็นรูเล็กๆ เพื่อให้น้ำหมักหยดลง ในที่นาผสมกับน้ำในนาข้าว
- หลังจากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จะสังเกตได้ว่าซังข้าวและวัชพืชที่อยู่ในนาข้าวจะเน่าย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ทำดินก็จะร่วนซุย
- จากนั้นก็นำต้นกล้าลงปลูกได้อย่างง่ายดาย
- รอเก็บผลผลิต โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองต้นทุนในการใส่ปุ๋ย เพราะในที่นามีปุ๋ยที่จุลินทรีย์หน่อกล้วย ได้ไปทำการย่อยสลายซังข้าว และวัชพืชกลายเป็นธาตุอาหารในดินซึ่งดีต่อข้าวเป็นอย่างมากทำให้ข้าวเจริญเติบโตดี ได้ผลผลิตสูง
ที่มาของภูมิปัญญา : นายอินผ่อง แก้วดำ เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ในปัจจุบันนี้เวลาที่พี่น้องเกษตรกรทำนาส่วนใหญ่จะเน้นที่ผลผลิตสูงๆ เป็นตัวตั้ง ดังนั้นก็จะใส่ทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิต โดยไม่ค่อยได้คำนึงถึงต้นทุนเท่าไหร่ จนบางครั้งบวกลบคูณหารแล้วขาดทุนด้วยซ้ำไป ซึ่งตรงกันข้ามกับของพ่ออินผ่องที่เน้นตรงที่ให้ได้กำไรมากๆ ดังนั้น อาจารย์ก็จะลงทุนให้น้อยที่สุด เพื่อที่จะได้กำไรสูงสุดตามมา

หนึ่งในกระบวนการที่ไม่ไถนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะลดต้นทุนการผลิตลง เพราะตนเองไม่มีรถไถนา ครั้นจะไปจ้างก็ต้องใช้เงิน จึงตัดสินใจที่ไม่จ้างรถไถมาไถนาตนเอง ผมจึงถามว่าแล้วการที่ไม่ไถไม่มีปัญหาต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวเหรอครับ...ก็ได้รับคำตอบว่าโดยปกติต้นไม้ หรือข้าวที่งอกงามในธรรมชาติใครไปไถและเตรียมดินให้มันล่ะ ...เออประเด็นนี้ก็จริงนะ...แล้วอาจารย์ก็ขยายความต่อครับว่า...การที่ไม่ไถนั้นจะทำให้โครงสร้างของดินโปร่งและร่วนทรุย (ซุย)ในระยะยาวเพราะมีเศษซากพืช สัตว์ เน่าทับถมกันแล้วทำให้ดินหลวม ตรงกันข้ามกับการไถจะร่วนเฉพาะช่วงเวลาไถหลังจากนั้นก็จะแน่นตามเดิม ฉะนั้นในการทำนาแบบไม่ไถนอกจากจะประหยัดแล้วแถมยังให้ต้นข้าวงอกงามได้อีก

ไม่หว่าน ไม่ดำ...ก็หมายความว่าในพื้นที่แปลงนาของเรามีเมล็ดข้าวล่วงหล่นเต็มพื้นที่ เพียงพอต่อการเจริญเติบโตอยู่แล้ว เพราะว่าในฤดูกาลที่แล้วนั้นได้ใช้รถเกี่ยวนวดข้าว...ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงมีเมล็ดข้าวล่วงหล่นกระจัดกระจายตามพื้นนาซึ่งเพียงพอ และเมื่อเจอความชื้นข้าวก็งอกงามขึ้นมาดังที่เห็นนี่ไง


ตัดหญ้าและข้าวเพื่อให้แตกใหม่
ครับจากแนวทางการทำนาแบบไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ของท่านอาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน ก็เป็นวิธีการทำนาอีกแบบหนึ่ง... โดยอาจารย์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตเป็นหลัก ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนประกอบอาชีพ แต่อย่างไรก็ตามในการที่เราจะทำอะไร ผลิตอะไร ปลูกอะไรนั้น ก็คงต้องดูรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม อีกทั้งบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เพื่อนำมาพินิจ วิเคราะห์ ก่อนการตัดสินใจในการที่จะทำ เพื่อความสำเร็จของกิจกรรมที่ดำเนินการ


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย

แนวคิดทำนา 1 ไร่ให้ได้ 1 แสนจะทำได้จริงไหม

ไปอ่านเจอบทความ การจัดการนาข้าวไปเจอบทความนึงเขามีแนวคิด ทำนา 1 ไร่ได้ 1 แสน
เลยคัดลอกมาให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านกัน ใครคิดว่าทำได้ทำไม่ได้อย่างไร มาแลกเปลี่ยนกันครับ

ทำนาย้อนรอยภูมิปัญญาไทยแค่ 1 ไร่ได้ถึงแสน

ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ของการเป็นประเทศที่มีการ พัฒนาในด้านต่างๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ รายได้ประชาชาติสูงขึ้นจนคล้ายกับว่าบ้านเมืองนี้กำลังจะไม่มีคนยากจนให้เห็นในระยะเวลาอันสั้นนี้ แต่หากพิจารณาจากรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลขรายได้และรายจ่ายของเกษตรกรย้อนหลังไปเมื่อปี 2549 – 2550 พบว่ารายได้เฉลี่ยของครอบครัวไทยภาคเกษตรอยู่ที่ 114,631 บาทต่อปี ในขณะที่รายจ่ายด้านการลงทุนทำการเกษตรมีประมาณ 64,261 บาท และแน่นอนว่าคนเราต้องกิน ต้องใช้ ต้องจ่าย เกษตรกรไทยจึงมีรายจ่ายในการอุปโภคบริโภคอีกประมาณ 84,465 บาท ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่ใช่ตัวเลขที่คำนวณจากราคาสินค้าในยุคไข่มาร์ค ที่ทุกคนต่างรู้ดีว่าแพงขึ้นจนใจหาย เมื่อนำรายได้และรายจ่ายมาหักลบกลบกันแล้ว เกษตรกรไทยผู้ผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศกำลังยากจนลงทุกปี

         ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ นอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ยังได้สร้างความร้าวฉานให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทย เพราะการทำอาชีพเกษตรกรรมของคนส่วนใหญ่ในประเทศที่ผ่านมา  แทนที่จะทำให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  แต่กลับเป็นผลทำให้เกิดปัญหาความยากจนที่รุมเร้าเกษตรกรไทยมายาวนาน   ดูเหมือนว่าปัญหาจะเพิ่มขึ้น และไม่มีท่าทีว่าจะแก้ไขได้เลยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต  เมื่อความลำบากยากแค้นรุกรานชีวิต เกษตรกรก็ต้องออกมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง  กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกทอดหนึ่ง

นี่คือ....ความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย...แล้วอะไรคือทางแก้
         การจัดการความเหลื่อมล้ำให้ลดลงนั้น  ต้องแก้ที่จุดต้นตอของปัญหา เพื่อให้ประชาชนในภาคการเกษตรหมดปัญหาความยากจน หอการค้าไทยจึงริเริ่มทำโครงการ “ภูมิปัญญาไทย นา 1 ไร่ไ ด้เงิน 1 แสน”   เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น   เป็นการสร้างโมเดลต้นแบบ เพื่อให้เกษตรกรทั่วประเทศนำวิธีการไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่อาชีพของตนเองมากที่สุด

มีคำถามว่า การทำนา 1 ไร่ จะได้เงิน 1 แสนได้อย่างไร

          คุณอดิสร พวงชมพู อดีตประธานหอการค้าจังหวัดนครปฐม ประธานโครงการภูมิปัญญาไทย นา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน อธิบายว่า หัวใจสัคัญของการดำเนินโครงการดังกล่าว คือการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่มุ่งให้คนไทยมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เกษตรกรก็จะไม่ต้องแบมือรับความช่วยเหลือจากโครงการประชานิยมที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด

          แนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ คือทฤษฎีแห่งการใช้น้ำและการบริหารงานพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชดำริขึ้นและพระราชทานไว้แก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมไม่ได้ผลในเขตแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตรโดยเฉพาะการประกอบอาชีพทางการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลักจะมีความเสี่ยงสูงมากในการขาดแคลนน้ำ กรณีฝนทิ้งช่วงและปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอในฤดูปลูก โดยเฉพาะการทำนาจะทำให้ผลผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค

          ทฤษฎีใหม่ คือแนวทางที่จะทำให้เกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินจำนวนน้อยสามารถเลี้ยงตัวเองได้ เน้นการผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปี โดยให้มีพืชผักและอาหารโปรตีนจากการเลี้ยงปลา เป็ด ไก่ ไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน
          คุณอดิสรอธิบายว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะถูกผลักดันให้มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทำนา ปลูกพืชเสริม และเลี้ยงสัตว์เพื่อเอาไว้บริโภคและขายเป็นรายได้ แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านต้องขยันขึ้น เหนื่อยขึ้น แต่หากทำได้ตามแนวทางที่แนะนำ ในระยะยาวก็จะมีความสุขขึ้น ถือเป็นโครงการเริ่มต้นที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำบนความรู้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           “เราจะต้องเปลี่ยนชาวนาให้เป็นเกษตรกร ต่อมาก็จะเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นนักธุรกิจสาขาเกษตรกรรม ผมเคยถามชาวนาว่า เคยรู้บ้างไหมว่าทำไมพวกพ่อค้าที่รับซื้อข้าวถึงรวยกว่าเรา ซึ่งชาวนาส่วนใหญ่มักคิดว่าที่พ่อค้ารวยเพราะใช้วิธีกดราคารับซื้อกับชาวนา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นความจริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเมื่อพ่อค้ารับซื้อข้าวเปลือกไปแล้ว สิ่งที่เขานำไปขายต่อคือ ข้าวสาร แกลบ รำ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือการสอนแนวคิดเรื่องการทำธุรกิจให้ชาวนา ให้เขามองเห็นผลผลิตทางการเกษตรทั้งในแง่ของคุณค่าและมูลค่าในเวลาเดียวกัน”

แนวคิดที่จะทำให้ได้เงิน 1 แสน จากผืนนา 1 ไร่

          ก่อนอื่นเกษตรกรต้องยอมรับก่อนว่าตนเองเป็นหนี้จากการทำเกษตร เนื่องจากมีต้นทุนสูง ผลผลิตต่ำ สินค้าไม่มีความโดดเด่นในด้านคุณค่า ดังนั้นวิธีปลอดหนี้คือ ต้องลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและเพิ่มเรื่องราวสินค้า เพื่อคุณค่าของสินค้า และเพิ่มสรรพคุณของสินค้า
          ในขณะเดียวกัน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการปลูกฝังแนวคิดใหม่ ได้แก่

          แนวความคิดที่ 1 คือการคิดแบบพ่อค้าว่าการทำนา 1 ไร่ ควรได้เงินสูงสุดเท่าไร
          แนวความคิดที่ 2 ปุ๋ยเคมีทำให้ระบบนิเวศน์เสียหาย และในที่สุดการทำนาจะเหลือเพียงการปลูกข้าวอย่างเดียว ไม่สามารถสร้างผลผลิตอย่างอื่นๆ ได้
          แนวความคิดที่ 3 การทำนาแท้จริงแล้ว คือการประยุกต์ใช้ 3 วิชา คือ วิชากสิกรรม ประมง และปศุสัตว์ มาบูรณาการเป็นสหวิชา

          จะเห็นได้ว่าแนวคิดที่ 3 คือกระบวนการการทำเกษตรแบบผสมผสาน อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ดั้งเดิมนับแต่ในอดีตที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องยากที่เกษตรกรในวันนี้ จะย้อนกลับไปทำเกษตรแบบที่บรรพบุรุษไทยเคยทำ

สหวิชาบนแปลงนา 1 ไร่

          ก่อนอื่นเกษตรกรจะต้องแบ่งพื้นที่ 1 ไร่ ออกเป็น 2 ส่วน
          ส่วนที่ 1 สำหรับเป็นพื้นที่ทำนา โดยวิธีการเตรียมแปลงนาใช้วิธีการไถหมักหญ้า โดยก่อนไถจะรดน้ำหมักจุลินทรีย์ก่อนจึงค่อยไถหมัก ระหว่างการไถหมักให้เตรียมกล้า โดยการเพาะกล้าในแปลงนาและนำกล้ามาเลี้ยงในถาดปลูก ต่อมาจึงโยนกล้าโดยปล่อยให้น้ำขึ้นมาที่ระดับ 5 ซม. เพื่อบำรุงต้นข้าว ให้ต้นข้าวมีการแตกกอ และยังเป็นการสกัดไม่ให้เม็ดหญ้าเจริญเติบโต หลังจากนั้นปล่อยลูกปลาและกุ้งลงไปพร้อมกันเพื่อไม่ให้เกิดการกินกันเองเมื่อปลาโตขึ้น

          ส่วนที่ 2 ใช้เป็นพื้นที่ประมง โดยการขุดร่องน้ำรอบแปลงนาขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร สำหรับร่องนี้จะควบคุมระดับน้ำที่ใช้กับทั้งการประมงและการปลูกพืชน้ำ อาทิ การเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ เลี้ยงหอย ซึ่งมูลสัตว์ทั้งหมดจะเป็นปุ๋ยแก่ข้าว โดยน้ำในร่องน้ำจะเป็นตัวกลางในการถ่ายของเสียจากสัตว์มาเป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว

          ส่วนบริเวณคันนา จะต้องปรับให้กว้าง 1.5 เมตร เพื่อปลูกพืชเสริมประกอบตามความเหมาะสม อาทิ พริก มะนาว มะรุม เป็นต้น ซึ่งพืชที่ปลูกบนคันนาจะสามารถสร้างอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกร หรือพืชผักสวนครัวทุกชนิดที่กินได้ เหลือแล้วนำไปทำพืชสมุนไพร ป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช และยังเป็นพื้นที่เลี้ยงเป็ดไข่ ซึ่งจะปล่อยเป็ดไข่ไปหาอาหารตามแปลงนาได้ โดยพื้นที่ 1 ไร่นี้จะล้อมรอบด้วยมุ้งสีฟ้า

ที่มาของรายได้ 5 ส่วน

          ส่วนที่ 1 ผลผลิตข้าวจากนาข้าว เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าวสาร ปลายข้าว แกลบ รำ และฟางข้าว แต่รายได้จะเกิดขึ้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในกรณีที่เกษตรกรรวมกลุ่มกันทำในลักษณะโรงสีชุมชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดอำนาจการต่อรองเพิ่มขึ้นด้วย
          ส่วนที่ 2 ผลผลิตจากการประมง อาทิ ปลาดุก กุ้ง กบ ปู หอย
          ส่วนที่ 3 ผลผลิตจากพืชประกอบที่ปลูกบนคันนา อาทิ ตะไคร้ สะเดา พริก มะนาว ข่า ตะไคร้ มะเขือ หอมแดงหรือ มะรุม
          ส่วนที่ 4 ผลผลิตพืชน้ำ ซึ่งเป็นพืชที่ไม่มีต้นทุนการปลูก อาทิ ผักเทา ผักแว่น ผักแขยง
          ส่วนที่ 5 ผลผลิตจากเป็ดไข่ ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงประกอบ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการไปแล้วบนพื้นที่นำร่องที่บ้านหนองแต้ บ้านบ่อ บ้านกุดเชียง ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ซึ่งเกษตรกรในชุมชนที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ จะทำหน้าที่เป็นต้นแบบจากการปฏิบัติในเชิงประจักษ์ ซึ่งจะได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเกษตรกร รายอื่นๆ ที่สนใจต่อไป

          อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกษตรกรได้รับจากการปรับพื้นที่ 1 ไร่ ไปสู่การทำเกษตรแบบผสมผสานนั้น นอกเหนือจากรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นแล้วยังเป็นการฟื้นฟูและสร้างระบบนิเวศน์ให้เป็นพื้นที่เกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ช่วยขจัดต้นทุนค่าปุ๋ย/ยาได้อย่างเห็นผลและยังเป็นการเรียกขวัญและกำลังใจให้กลับคืนมา ซึ่งจะช่วยสานต่ออาชีพเกษตรกรไทยให้ยังคงอยู่ต่อไปได้

 คุณอดิสร เปิดเผยว่า “การที่หอการค้าไทยซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจ ได้เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยเหลือภาคการเกษตรของไทย เนื่องจากภาคเอกชนเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการเป็นทัพหน้าคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกันยังมีความสัมพันธ์กับภาคการเกษตรและเกษตรกรทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการผลิตและการตลาดในเชิงหุ้นส่วนธุรกิจที่พึ่งพากัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคเอกชนต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรฐานราก เพราะหากไม่มีเกษตรกร นักธุรกิจก็คงไม่มีสินค้าที่จะนำไปขาย โครงการภูมิปัญญาไทย นา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน จึงเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ภาคเอกชนจะแสดงถึงการมีมิตรไมตรีเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ตามประเพณีของสังคมไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน”

          เกษตรกรที่อยากจะปลดหนี้และมีรายได้เรือนแสน ก่อนอื่นต้องมีหัวใจตั้งมั่น พร้อมจะดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ แล้วจึงนำวิธีการที่หอการค้าไทยแนะนำไปปรับใช้ ก็น่าจะยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นได้ไม้มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความขยันและหยาดเหงื่อที่พร้อมจะทุ่มเทลงไปบนพื้นที่ 1 ไร่ ขยันมาก เหงื่อออกมาก และคิดมากแบบนักธุรกิจ เงินแสนก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม

แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง

แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง


แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงเน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง คือ  ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย  โดยการส่งเสริมกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน  เพื่อให้เกษตรกรพัฒนาตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง
        
                                                               2. การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย
                          
3. การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย)  เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบำรุงดิน
4. การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
5. การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน
6. การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. การเลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม
8. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ 10-15 ตัวต่อครัวเรือน  เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษ
    อาหาร รำ และปลายข้าวจากผลผลิตการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตวจากการปลูกพืชไร่ เป็นต้น

9.การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
-  ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
-  ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ  "ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่             
ฟุ่งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง"
-  ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต  "ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ"       
-  ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย  ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง  "ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น"
-  มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
-  ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
-  ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม
-  ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม  นำความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อปรับวิถีชีวิตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วิธีการเลี้ยงแมงดานา แมลงเศรษฐกิจ สร้างรายได้งาม

เลี้ยงแมงดานาทำอย่างไร

การเตรียมสถานที่


บ่อสำหรับเลี้ยงแมงดา
สถานที่ที่เหมาะสมในการทำบ่อเพาะเลี้ยงแมงดานา ควรเป็นที่โล่งเเจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง และต้องไม่พลุกพล่านซึ่งบ่อเลี้ยงแมงดาไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก และขนาดของบ่อที่นิยมคือให้มีความยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง และขนาดที่เหมาะสมที่สุดควรมีพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร โดยด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อทำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่งเพื่อใช้รวบรวมของเสียและง่ายต่อการกำจัด และที่ขาดไม่ได้คือชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้ใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดา อาจปลูกต้นกก ผักบุ้งหรือเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดาบินหนี หรือมีนก หนูเข้าไปลักกินแมงดานา ส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี

วิธีการเลี้ยงแมงดานา



หลังจากทำบ่อและบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้วก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม.แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมีย 1 ต่อ 1 ดีที่สุด แต่สัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็ได้ผลดีพอสมควร การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมงดานาช่วงที่ดีที่สุด ควรเป็นช่วงตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม เนื่องจากเป็นแมงดาวัยรุ่นยังไม่มีไข่ ( เขาว่าแมงดานาที่มีไข่ติดท้อง หากตกใจจะกลั้นไข่จนตายในที่สุด) แต่เราสามารถแยกเพศได้แล้ว โดยดูที่อวัยวะสืบพันธุ์ ตรงก้นที่เห็นเป็นระยางค์แฉกๆลองแง้มดูภายในหากเห็นเป็นอวัยวะคล้ายเม็ดข้าวสารแแสดงว่าเป็นตัวเมียแน่นอน ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อให้แมงดานาผสมพันธุ์เริ่มจากลดระดับน้ำลงจากเดิมประมาณครึ่งหนึ่ง พร้อมกับจัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมดโดยนำไม่ไผ่หรือกิ่งไม้แห้งๆใส่ลงไปแแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วัน ก่อนเปลี่ยนน้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม.หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บกิ่งไม้ไผ่ กิ่งไม้ออก ใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อนละ 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจมน้ำด้านนี้เสมอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำ ปักด้วยซี่ไม้ไผ่หรือไม้เสียบลูกชิ้นยาวคืบกว่าๆเป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วันไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นว่าแมงดานาวางไข่แล้วเต็มที่ก็ให้จับพ่อแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในบ่ออื่นให้หมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นหากต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้หลายบ่อโดยวิธีเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็วขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่น มักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขายแล้วคัดเอาบรรดาลูกๆรุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
ไข่แมงดา

หรือการเลี้ยงอีกวิธีหนึ่งก็คือโดยการมัดกลุ่มไข่หรือเสียบกับลวดเพื่อวางยืนในกล่อง ใส่น้ำและวางกล่องในถาดหล่อน้ำ กันมด ไข่ที่ใกล้ฟักจะมีสีเข้มชัดเจน พองผิวเต่งตึง แมงดามักจะออกจากไข่ช่วงเช้าและเย็น เมื่อฟักออกจากไข่จะหงายท้องและดีดตัวร่วงลงน้ำ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากตัวใหม่ๆจะสีเหลืองอ่อน ด้านในลำตัวสีเขียว ตาสีดำ ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง สีจะคล้ำขึ้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา แยกตัวอ่อนวัย 1 ใส่เลี้ยงถ้วยละ 1 ตัว โดยใช้ขวดน้ำขนาดความจุ 950 มิลลิเมตร ตัดเอาก้นขวดสูง 3 นิ้ว เป็นถ้วยเลี้ยง เจาะรูก้นถ้วยเพื่อความสะดวกในการถ่ายน้ำเสีย วางถ้วยในถาดพลาสติกใส่น้ำลงไปประมาณ 0.5 นิ้ว ให้ลูกปลาเป็นอาหารถ้วยละ 1 ตัว

อาหารของแมงดานา


อาหารของแมงดา ให้ด้วยลูกปลา ลูกกุ้ง หรือ ลูกอ๊อด ( อย่าให้ลูกอ๊อดคางคก เพราะลูกอ๊อดคางคกมีพิษ )
การให้อาหารตอนเช้าก่อน 08.00 น. วันละ 1 ครั้ง และช่วงเย็น (16.00น.) เอาเศษลูกปลาตายออก ล้างทำความสะอาดถ้วยเลี้ยง เปลี่ยนน้ำ เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเข้าวัย 3 ย้ายเข้ากรงคู่ทำด้วยตาข่ายพลาสติกสีดำ ( มีจำนวนรู 35 รู ต่อ 1 ตารางนิ้ว ) ลักษณะรูปทรงกระบอกยาว 18.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ปิดส่วนท้ายกรงแต่ละคู่ด้วยแผ่นตาข่ายขนาด (กว้าง x ยาว) 9 x19 เซนติเมตร วางกรงในแนวนอนลงในถาดหรือกะละมังที่มีน้ำประมาณ 2 นิ้ว ด้านบนของกรงกรีดตาข่ายออกสามด้าน ขนาด (กว้าง x ยาว) 5 x 6 เซนติเมตร แล้วใช้ลวดยึดไว้เพื่อเป็นช่องประตูเปิดปิด ใส่ปลาและเอาแมงดาเข้าออก เมื่อลอกคราบเข้าวัย 4 ย้ายเข้ากรงทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาด ( กว้าง x ยาว x สูง) 10 x 15 x 10 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเดิมและเอากล่องลงบ่อดินขนาด ( กว้าง x ยาว) 3.5 x 7 เมตร ลึก 1 เมตรปูพื้นด้วยพลาสติก มีผักตบและกอบัว ใช้โฟมติดด้านข้างกรงเป็นทุ่นให้กรงลอยน้ำได้ ในกรงใส่ผักตบชวาให้แมงดาเกาะ เพื่อความสะดวกในการจัดการเอากรงขึ้นลงจากบ่อ จัดวางเป็นแถวและเอาลวดเสียบหัวและท้ายกรงในแนวยาวเหมือนไม้เสียบลูกชิ้นหรือบาร์บีคิว เลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย


การจับแมงดานา


เครื่องมือในการจับแมงดานา
1. ใช้มือจับ
2. ใช้สวิงจับหรือช้อนตามไม้น้ำ
3. ใช้แสงไฟล่อ ติดตั้งหลอดแบล็กไลต์บนเสาไม้ไผ่สูงๆ ใช้ตาข่ายขึง กั้นให้สูงแมงดาจะมาเล่นไฟ
4. ปัจจุบันมีเครื่องมือจับแมงดานาแบบพื้นบ้านซึ่งเป็นผลงานการคิดค้นของจ่าสาย ศรีสมุทร สภอ.นาแก จังหวัดนครพนม โดยการใช้สังกะสีแผ่นเรียบมาตัดต่อบัดกรีให้เรียบร้อยเป็นกรวยปากกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เมตร ความสูงของกรวย 1 เมตร และด้านล่างทำเป็นท่อกลวงขนาดกระป๋องนม ยาวประมาณ 30 ซม. การติดตั้งเครื่องมือให้เลือกสถานที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยตั้งเสาสูงประมาณ 6 เมตรติดหลอดแบล็กไลต์ไว้ล่อแมงดา ด้านล่างติดตั้งกรวยสังกะสีหงายปากกรวยขึ้น มีไฟนีออนสีฟ้าล่อไว้อีกดวงหนึ่งที่ปากกรวยนั้น ส่วนด้านล่างสุดใช้ถุงปุ๋ยที่ไม่ขาดทะลุสวมเข้าที่ท่อกลวงด้านล่างผูกติดให้แน่น ซึ่งแสงจากหลอดแบล็กไลต์จะล่อแมงดาให้มาที่นี่ ส่วนแสงสีฟ้าจากหลอดนีออนเมื่อสะท้อนจากปากกรวยสังกะสีจะดูคล้ายๆกับแหล่งน้ำขนาดเล็ก ดึงดูดใจให้แมงดาบินลงกรวยในที่สุด ซึ่งการจับด้วยวิธีนี้สะดวก เพราะเราไม่ต้องนั่งเฝ้า รอไว้ดูตอนเช้าเลยทีเดียว

การนำแมงดามาปรุงอาหาร


อาหารจากแมงดา
1. ไข่แมงดานา นำมาย่างไฟหรือกินสดๆ
2. ตัวเต็มวัย ตัวเมียชุบแป้งทอด ทำแกงคั่วแมงดานา ตัวผู้มีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติอาหาร นำมาทำน้ำพริกแมงดา แจ่วแมงดานา น้ำพริกปลาร้า น้ำปลาแมงดา หรือดองแช่น้ำปลาไว้ขายราคาแพง (ตุลาคม-มีนาคม)

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

   แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
การพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Develoment)
            การพัฒนาในประเทศที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเชื่อว่าหากเศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้นระดับรายได้ของประชากรของประเทศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย  ซึ่งจะส่งผลให้มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนสูงขึ้นแต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเชิงปริมาณดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรมนำไปสู่ข้อสรุปผลของการพัฒนาที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาคุณภาพและไม่ยั้งยืน” ความเจริญทางเศรษฐกิจไม่อาจดำรงอยู่อย่างยั้งยืนได้ หากไม่คำนึงถึงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต้องมีการใช้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์พร้อมทั้งจัดการ และคุ้มครองระบบนิเวศให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั้งยืน ในศตวรรษที่ 2550 ประเทศไทยจึงได้ให้มีการใส่ใจอย่างจริงจังกับ การพัฒนาอย่างยั้งยืน”
   1.  ความหมายของการพัฒนาที่ยั้งยืน
              (การพัฒนาที่ยั้งยืนในบริบทไทย เอกสารประกอบการประชุม ประจำปี 2546 การพัฒนาที่ยั้งยืน 30 มิถุนายน 2546) การพัฒนาที่ยั้งยืน” ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมาย ใกล้เคียงกัน แต่มีการกล่าวมากที่สุดคือ คำนิยามของสมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและพัฒนา (World Commission on Environment and Develoment) ซึ่งนิยามไว้ว่า การพัฒนาที่ยั้งยืน คือ รูปแบบของการพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อๆ ไปต้องลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง (Sustainable Development that meets the needs of  the present without compromising the ability of future generations to meet their own needs) หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ การทำให้กิจกรรมของมนุษย์ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามแนวคิดดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่ครอบคลุมการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีคนเป็นศูนย์กลางหรือเป้าหมายของการพัฒนา เพื่อให้อยู่ดีกินดีทั้งคนในรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไป
     
 แนวทางการพัฒนาที่ยั้งยืนมาจาก 3 แนวทางใหญ่ๆ คือ
 แนวทางด้านนิเวศวิทยา
-  แนวทางด้านสังคม
- แนวทางด้านเศรษฐกิจ
    ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาประเทศและเริ่มกำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศที่มุ่งรักษาความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2540 – 2549และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 -2554) (Green and Happiness Society)
              2.  แนวทางการปรับตัวของประเทศไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    การพัฒนาที่ยั่งยืนมีแนวคิดในการดำเนินงานดังนี้
              2.1 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  โดยต้องสร้างความเข้าใจว่าทรัพยากรธรรมชาติ เป็นทุนการผลิตประเภทหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของประเทศและมีความสำคัญในการดำรงชีวิต
               2.2  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการขยายตัวในเชิงปริมาณ โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ดังนี้ คือ
               1. การบริหารเศรษฐกิจโดยรวม
               2. การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถของการแข่งขันของประเทศ
              3. การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
             - สนับสนุนการวิจัย
             - พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความสามารถมากขึ้น
             - พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
             2.3 การเสริมสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้บุคลากรของชาติมีคุณภาพ มีความรู้ และพร้อมที่จะรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย
             - เชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน
            - มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
             3. ดรรชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย
    การวัดผลสำเร็จของการพัฒนาประเทศ ส่วนใหญ่พิจราณาจากผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายประเทศ (Gross Domestic Product-GDP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ( Gross National Product-GNP) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
            ประเทศไทยใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เป็นดรรชนีชี้วัดระดับการพัฒนาประเทศเช่นเดียวกับประเทศอื่น สังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 8 ฉบับที่ 9 และฉบับที่ 10 กำหนดให้ คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดรรชนีชี้วัดขึ้นใหม่ 2 ชุด คือ ดรรชนีความอยู่ดีมีสุข และ ดรรชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้วัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนาที่มีต่อคน
            ดรรชนีความอยู่ดีมีสุข
            เป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 คือ การสร้าง สังคมอยู่ดีมีสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) ซึ่ง ความอยู่ดีมีสุข หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ สามารถจำแนกเป็น 7 ด้าน คือ                                                                                                                     
            1. สุขภาพอนามัย
            2. ความรู้        
            3. ชีวิตการทำงาน
            4. รายได้และการกระจายรายได้
            5. ชีวิตครอบครัว
            6. สภาพแวดล้อม
            7. การบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ

-                    
                                        
                                                                       ดรรชนีรวมความอยู่ดีมีสุขและองค์ประกอบ

ดรรชนี
องค์ประกอบ
ตัวชี้วัด
1.  สุขภาพอนามัย
1.  การมีชีวิตยืนยาว
2.  การมีสุขภาพอนามัยที่ดี
3.  การสร้างความเป็นธรรมในระบบสาธารณะสุข

1.  อายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
2.  สัดส่วนประชากรที่ไม่เจ็บป่วยในแต่ละปี
3.  สัดส่วนประชากรที่มีหลักประกันสุขภาพ
2.  ความรู้
4.  การได้รับการศึกษาของคนไทยอย่างทั่วถึง
5.  คุณภาพการศึกษา

4.  จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาของประชาชน
5.  อัตราการเข้าเรียนหนังสือของเด็กชั้นม.ต้นและม.ปลาย
6.  ผลคะแนนการทดสอบวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

3.  ชีวิตการทำงาน
6.  การมีงานทำอย่างทั่วถึง
7.  ความมั่นคงในการทำงาน
7.  สัดส่วนผู้ว่างงาน
8.  สัดส่วนแรงงานที่มีการบริการและอยู่ในข่ายควบคลุมของเครือข่ายประกันสังคม
4.  รายได้และกระจายรายได้
8.  รายได้
9.  การกระจายรายได้
9.  สัดส่วนคนยากจนด้านรายได้
10.  สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้
      
-  เศรษฐกิจชุมชนกับการพัฒนายั่งยืน
            เศรษฐกิจชุมชน คือ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการทั้งในด้านการผลิต การบริโภค และการกระจายผลผลิต โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน คือ ให้มีส่วนร่วมคิด ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ บนรากฐานของความสามารถที่มีอยู่ จากการใช้ ทุนของชุมชน”
            สมาชิกในชุมชนจะเป็นผู้ตัดสินว่า พวกเราจะผลิตอะไรได้บ้างตามศักยภาพและทุนประเภทต่างๆ ที่มีอยู่เราจะผลิตกันอย่างไร โดยที่ชุมชนสามารถคิดเอง ทำเอง ได้เอง
            การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนควรมีเป้าหมายสำคัญที่
            1. การพัฒนาขีดความสามารถของคน ครอบครัว และชุมชน
            2. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
            การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมีจุดแข็งที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ก็คือ
            1. คนในท้องถิ่นในชุมชนเดียวกันมีจิตสำนึกร่วมกัน
            2. การมีความเอื้ออารี
            3. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
            4. เป็นการพัฒนาที่เริ่มจากการกำหนดพื้นที่
- แนวปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน     
            แนวทางในการพัฒนาชุมชนสามารถปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้ ดังนี้
        1. สร้างเวทีการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นก่อน
            2. วิเคราะห์ศักยภาพในขีดความสามารถของท้องถิ่น
            3. วางแผนพัฒนาตามแนวทาง
            4. ส่งเสริมการรวมกลุ่มในลักษณะต่างๆ
            5.พัฒนาเทคโนโลยีในความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิต
            6. พัฒนาระบบตลาด
            7.พัฒนากิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษา
            8. ทำการวิจัย
            9. สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน
        10. สร้างหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
            11. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร
            12. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนออกสู่สังคมภายนอก
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยแนวพระราชดำริ ระเบิดจากข้างใน”
            ระเบิดจากข้างใน
            เป็นหลักในการพัฒนาคน ที่ต้องเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก
            หลักการพัฒนาที่แท้จริงการพัฒนาที่แท้ต้องเริ่มจากระดับฐาน ระดับย่อยที่สุด หรือ ข้างใน”

ตัวอย่างของการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
 
           

- ชุมชนบ้านบ่อลูกลัง
            บริบทสังคมของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            ประวัติการก่อตั้งชุมชน
            ชุมชนบ้านบ่อลูกรัง ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว เริ่มเกิดขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 2512 โดยเริ่มจากคนในจังหวัดอื่นย้ายถิ่นฐานเข้ามา ด้วยความต้องการหาแหล่งที่ดินทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์
            ลักษณะทางกายภาพ
            ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของชุมชนบ้านบ่อลูกรังมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับกับที่ราบ ในปี พ.ศ.2549 มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 200 หลังคาเรือน แต่อยู่จริงในหมู่บ้าน 149 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งหมด 768 คน อยู่จริง 293 คน
            สภาพปัญหาของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            - ปัญหาด้านที่ดินทำกิน
            - ปัญหานายทุนปล่อยกู้ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมา
            - ปัญหาจากภัยธรรมชาติ
           
            ปํญหาที่ดินทำกิน
            ทั้ง อ.วังน้ำเย็น ถูกกรมป่าไม้คุมปลูกป่าหมดและไม่ได้มาแจ้งให้ชาวบ้านทราบก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบประชากรในหมู่บ้านมีจำนวนไม่มาก ชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน และได้ย้ายเข้าไปอยู่ในป่าลึกกว่าเดิม
            ปัญหานายทุนปล่อยเงินกู้ และปัญหาหนี้สิน
            เกิดจากการที่เถ้าแก่เป็นนายทุนปล่อยเงินกู้ ชาวบ้านไปกู้เงินกับเถ้าแก่เพื่อมาทำไร่ข้าวโพด แล้วนำข้าวโพดที่ปลูกมาตกดอกกับเถ้าแก่ ร้อยละ 5-6 ปี ถัง/ปี
            ปัญหาจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช
            ตั๊กแตนปาทังก้า คือศัตรูพืชที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด มะพร้าว อ้อย ถั่วลิสง ถั่วเขียว และข้าวฟ่างเสียหาย
            กล่าวโดยสรุปได้ว่า ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการกำหนดพื้นที่ของรัฐ โดยไม่สอดคล้องกับคนในชุมชน ซึ่งต้องใช้พื้นที่เพื่อการดำรงชีวิตและทำกิน
        แนวคิดของชุมชนบ้านบ่อลูกรังในการจัดทำศูนย์ข้อมูลชุมชน  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
            1. แนวทางในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ
            2. ชุมชนบ้านบ่อลูกรังมีโอกาสได้ไปศึกษา
            3. มีพันธมิตรทางการสร้างความร่วมมือและสนับสนุนชุมชน
            4. ชุมชนมีทีมงานและคณะทำงานชุมชนที่เข้มแข็ง
        เหตุผลในการจัดทำศูนย์ข้อมูลชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
        1. เพื่อเป็นการสืบค้นเรื่องราวต่างๆ
            2. เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน
            3. สะดวกต่อการค้นหาและจัดเก็บข้อมูล
            4. เป็นเครื่องมือและนวัตกรรมการพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้
            5. มีฐานข้อมูลชุมชนสำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชุมชน
            6. นำฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงการแก้ปัญหาความยากจน
            7. นำไปสู่การสร้างสื่อสาธารณะในชุมชน
            8. เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
            9. มีผู้สืบทอดการเรียนรู้ในชุมชน
        10ยกระดับการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้
            11. สื่อความหมายได้ชัดเจนและรวดเร็ว
            12.ชุมชนควรมีข้อมูลของตนเอง
            13.มีข้อมูล มีแนวทางและสิ่งที่คาดหวังของชุมชน คือ ชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืน
            กระบวนการเริ่มต้นหรือการก่อรูปขององค์กรชุมชนเพื่อจัดทำข้อมูลชุมชนของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            ผู้นำชุมชนถือได้ว่าป็นส่วนสำคัญต่อการชักชวนสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านเกี่ยวกับการทำข้อมูลชุมชนในส่วนบ้านบ่อลูกรัง ผู้ใหญ่บ้านละอองดาว
        กระบวนการลงพื้นที่เพื่อจัดทำข้อมูลระดับชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านบ่อลูกรัง ได้มีการดำเนินงานหลังจากที่ผู้นำชุมชนได้ประสานความเข้าใจและทำประชาคมร่วมกับชาวบ้าน
            การจัดเก็บข้อมูลของกลุ่มองค์กรในชุมชน เช่น ประเภทของกลุ่ม กิจกรรม สถานะทางการเงิน และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
            ความสำเร็จจากการจัดทำข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนบ้านบ่อลูกรัง
            1. สามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
            2. เรื่องทุนทางสังคม
            3. การจัดทำฐานข้อมูลทำให้ชุมชนได้รับรู้ความเคลื่อนไหวต่างๆ
            4. การได้มีโอกาสใช้นวัตกรรมใหม่ๆ
            5. ปัจจุบันมีสื่อหรือภาพประกอบต่างๆ
        การนำข้อมูลไปพัฒนาหมู่บ้าน
            1. ชุมชนบ้านบ่อลูกรังมีกองทุนในหมู่บ้าน
            2. ข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
            3. ข้อมูลด้านวิถีชีวิต